วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึง การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเชื่อมต่อกัน  โดยใช้อุปกรณ์การสื่อสาร ซึ่งมีจุดประสงค์ดังนี้
1.  เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน  ได้แก่  ฐานข้อมูล   ซอฟต์แวร์  เครื่องพิมพ์  ซีดีรอม  เป็นต้น
2.  เพื่อสามารถแลกเปลี่ยนและประมวลผลข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายในเครือข่ายเดียวกันได้
3.  เพื่อช่วยให้ประมวลผลแบบกระจายได้  การจัดการทำงานของระบบได้กำหนดให้เครื่องคอมเครื่องหนึ่ง  ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง  และเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ที่เชื่อมต่อในระบบเครือข่ายเดียวกัน  ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล
4. เพื่อช่วยลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน
5.  เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ  เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน  เมื่อใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลและซอฟต์แวร์เดียวกัน  สำหรับการประมวลผลแบบเดียวกันแล้วนั้นไม่ว่าจะใช้เครื่องใดในการประมวลผลข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้ก็จะตรงกัน 
ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งตามลักษณะการเชื่อมต่อทางภูมิศาสตร์ หรือระยะทางการเชื่อมต่อ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระยะใกล้ภายในสำนักงาน หรืออาคารเดียวกัน หรืออาคารที่อยู่ใกล้กันโดยใช้ สายสัญญาณ ได้แก่ สายโทรศัพท์ สายโคแอกเชียล หรือ สายใยแก้วนำแสงตัวอย่างเช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย ภายในอาคารหรือบริษัทเดียวกัน ระบบเครือข่ายท้องถิ่น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ การปฏิบัติงาน ในด้านการใช้ทรัพยากร ของระบบร่วมกัน หรือสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ ระบบ LAN ช่วยให้มีการติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ร่วมกัน และใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า
ระบบเครือข่ายท้องถิ่น

2. ระบบเครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network : MAN) หมายถึง การเชื่อมต่อ เครือข่ายคอมพิวเตอร์  เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ที่มีระยะทางการเชื่อมต่อไกลกว่า ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) แต่ระยะทางยังคงใกล้กว่าระบบ WAN (Wide Area Network) ได้แก่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันภายในเมืองเดียวกันหรือจังหวัดเดียวกัน ในเขตเดียวกัน ตัวอย่างเช่น เคเบิลทีวี
ระบบเครือข่ายระดับเมือง
­
 3. ระบบเครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network : WAN) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ระยะไกล เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เช่น ระหว่างประเทศ การเชื่อมต่อเครือข่ายทั่วโลก ติดตั้งใช้งานบริเวณกว้างมีสถานีหรือจุดเชื่อมมากมาย และใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ไมโครเวฟ ดาวเทียม เนื่องจากเป็นการติดต่อสื่อสารระยะไกล อัตราการรับส่งข้อมูลจึงต่ำ และมีโอกาสผิดพลาดได้สูง การสื่อสารระยะไกล จำเป็นต้องมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณ คือ โมเด็ม ช่วยในการติดต่อสื่อสาร และสามารถนำเครือข่าย LAN มาเชื่อมต่อกัน เป็นเครือข่ายระยะไกลได้ ตัวอย่างของเครือข่ายระยะไกล เช่น อินเทอร์เน็ต เครือข่ายระบบงานธนาคารทั่วโลก เครือข่ายของสายการบิน เป็นต้น
ระบบเครือข่ายระยะไกล 

ระบบคอมพิวเตอร์

ระบบคอมพิวเตอร์
ฮาร์ดแวร์
หมายถึง อุปกรณ์ทุกชนิดที่นำมาประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล  และแสดงผลข้อมูล เช่น  แผงวงจรไฟฟ้า  จอภาพ  แป้นพิมพ์  ฮาร์ดแวร์   แรม  เป็นต้น 

หน่วยรับข้อมูล หรือ หน่วยนำเข้าข้อมูล 
เป็นหน่วยเริ่มต้นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ เพราะ มีหน้าที่ในการนำข้อมูลหรือคำสั่งต่าง ๆ  เข้าไปในระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์รับข้อมูลของหน่วยรับข้อมูล  มีหลายชนิด  เช่น    แป้นพิมพ์  เมาส์  เครื่องสแกน  จอยสติก จอสัมผัส  แต่ทุกชนิดทำหน้าที่ รับข้อมูลหรือคำสั่ง เข้าสู่ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เหมือนกัน
อุปกรณ์ของหน่วยรับข้อมูล แต่ละชนิดมีวิธีการนำเข้าข้อมูล หรือรับคำสั่ง ตลอดจนลักษณะของรูปแบบข้อมูลที่นำเข้าต่างกัน
หน้าที่สำคัญ  คือเป็นอุปกรณ์ ที่รับข้อมูล หรือคำสั่ง เข้าสู่ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์  หน่วยรับข้อมูล จึงเป็นหน่วยทำงานที่ช่วยให้ มนุษย์ สามารถติดต่อ สั่งงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ได้

หน่วยประมวลผล  หน่วยประมวลผล 
นิยมเรียกว่า ซีพียู  ซึ่งย่อมาจาก Central Processing Unit : CPU บางครั้งเรียกว่า โปรเซสเชอร์
มีหน่วยการทำงานที่สำคัญ 2  ส่วน  คือ  
หน่วยคำนวณและตรรกะ ทำหน้าที่  ใน การคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์  และเปรียบเทียบทางตรรกะของข้อมูล
          หน่วยควบคุม   ทำหน้าที่ประสานงาน และ ควบคุม  การทำงานของคอมพิวเตอร์  โดยจะทำงานประสานกับหน่วยความจำหลัก  และหน่วยคำนวณและตรรกะ

หน่วยเก็บข้อมูล
หน่วยเก็บข้อมูล  เป็นส่วนที่ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ  ที่ผ่านการประมวลผลแล้ว  สามารถแบ่งออกเป็น  2  ประเภทคือ
1.  หน่วยความจำหลัก  มีหน้าที่ เก็บข้อมูลต่าง ๆ  ตลอดจนโปรแกรมต่าง  ๆ  ขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานอยู่ เท่านั้น ถ้าปิดเครื่องคอมพิวเตอร์  ข้อมูลหรือซอฟแวร์ที่เก็บไว้ ในหน่วยความจำหลักจะหายหมด   ต้องอาศัย กระแสไฟฟ้าในการทำงาน  ถ้ากระแสไฟฟ้าไม่มีหรือมีไม่เพียงพอ ก็จะไม่สามารถทำงานได้ ข้อมูลหรือซอฟต์แวร์ที่เก็บไว้ก็จะหายทั้งหมด ได้แก่
-  แรม (Random Access Memory : RAM) หน่วยความจำแบบนี้จะเก็บข้อมูล เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงในวงจรถ้าไม่มีกระแสไฟฟ้าข้อมูลจะหายไป ถ้าคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำมากจะสามารถทำงานได้เร็วขึ้น เพราะมีเนื้อที่สำหรับเก็บคำสั่งของโปรแกรมต่าง ๆ  ไม่ต้องเรียกคำสั่งที่ใช้มาจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ซึ่งจะทำให้การทำงานช้าลงอย่างมาก
-  รอม (Read Only Memory : ROM)  หน่วยความจำแบบนี้จะมีคุณสมบัติการเก็บข้อมูลไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง ข้อมูลจะยังคงอยู่ในรอมตลอดเวลา เป็นหน่วยความจำสำหรับเก็บชุดคำสั่งเริ่มต้นระบบ หรือชุดคำสั่งที่สำคัญ ๆ ของคอมพิวเตอร์ ข้อเสียของรอมคือจะไม่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมชุดคำสั่งได้ในภายหลัง รวมทั้งมีความเร็วในการทำงานช้ากว่าหน่วยความจำแบบแรม
2.  หน่วยความจำรอง มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรม  เหมือนกับ หน่วยความจำหลัก แต่ต่างจากหน่วยความจำหลัก คือ    หน่วยความจำรอง สามารถจัดเก็บข้อมูล และโปรแกรมไว้ใช้ในภายหลังได้  แม้จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์  ข้อมูลและโปรแกรมที่เก็บไว้  ไม่สูญหายหรือถูกลบทิ้ง
- หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง  ได้แก่  ฮาร์ดิสก์  (Hard  Disk)  ฟลอปปีดิสก์ (Floppy  Disk)  คอมแพ็กดิสก์  (Compact  Disk หรือ  CD )  หน่วยความจำแบบแฟรช เป็นต้น

หน่วยแสดงผล ( Output Unit )
หน่วยแสดงผล ( Output Unit ) หมายถึง หน่วยที่ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณหรือการประมวลผลมาแสดงให้ผู้ใช้ทราบหรือนำไปใช้งาน  หน่วยแสดงผลที่สำคัญ ได้แก่ จอภาพ (Monitor)   เครื่องพิมพ์ (Printer)  ลำโพง ( Speaker )

ซอฟต์แวร์ (software)
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์ ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ สามารถแบ่งได้ 2 ชนิดดังนี้
1. ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ

ที่มา : หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ 4-6

Web browser หมายถึงอะไร Web browser

Web browser หมายถึงอะไร Web browser คือ

                 คือโปรแกรมที่ใช้สำหรับเป็นประตูเปิดเข้าสู่โลก
WWW (World Wide Web)  หรือพูดกันอย่างง่ายก็คือโปรแกรมที่ใช้สำหรับเล่นอินเทอร์เน็ต     ที่เรานิยมใช้กันอยู่ทุกวันนี้โดยเว็บเบราว์เซอร์
(Web Browser) 
จะเข้าใจในภาษา HTML   นี้คือเหตุผลว่าทำไมต้องใช้ภาษา HTML ในการ
สร้างเว็บเพจ   เพราะโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์นั่นสามารถเข้าใจ และสามารถทำงานตามคำสั่งของภาษา HTMLได้
         
        ฉะนั้นเมื่อนักเรียนเขียนเว็บเพจด้วยภาษา HTML นักเรียนจะทราบว่าผลลัพธ์ของคำสั่งต่างๆ
นั่นทำงานถูกต้องหรือไม่อย่างไร ต้องใช้โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์เปิดดู
ซึ่งโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์
ที่นิยมใช้ ในปัจจุบันมีหลายโปรแกรม เช่น โปรแกรม
Firefox , โปรแกรม Internet Explorer หรือโปรแกรม Netscape Comunicator แต่ส่วนมากนิยมใช้ โปรแกรม Internet Explorer หรือเรียกย่อ ๆ ว่า IE เพราะเป็นโปรแกรมที่มีมาพร้อมกับการติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์อยู่แล้ว ไม่ต้องไปหาโปรแกรมเพิ่มเติม
            เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
 ประโยชน์ของ Web Browser
             สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆ ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน
web browser ส่วนใหญ่จะรองรับ html 5 และ อ่าน css เพื่อความสวยงามของหน้า web page

รายชื่อเว็บเบราว์เซอร์ (
web browser) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
1.      Internet Explorer
2.      Mozilla Firefox
3.      Google Chrome
4.      Safari
 ที่มา : http://www.mindphp.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/66-server-hosting/1849-web-browser-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-web-browser-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD.html

“ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต”

 ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต
ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
          อินเตอร์เน็ต ( Internet ) เป็นเครือข่ายที่ได้รับการพัฒนา และเติบโตมาจากเครือข่ายทางการทหารของประเทสสหรัฐอเมริกา ที่มีชื่อว่า เครือข่าย " อาร์ปาเน็ต " ( ARPANET: Advanced Research Project Network)   เครือข่ายอาร์ปาเน็ตเป็นโครงการร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มใช้งานเมื่อปี พ . ศ . 2512 ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีเครือข่ายอาร์ปาเน็ตเป็นเครือข่ายหลักสำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในเวลาต่อมามหาวิทยาลัยต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสนใจและขอเข้าร่วมโครงการโดยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายอาร์ปาเน็ตเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและวิจัยต่อมาเครือข่ายอาร์ปาเน็ตมีขนาดใหญ่มากขึ้นทำให้เกิดปัญหาในการบริหารเครือข่ายดังนั้นทางการทหารของสหรัฐอเมริกาจึงขอแยกตัวออกมาเป็นเครือข่ายย่อยชื่อว่า " มิลเน็ต " ( MILNET: Military Network) โดยเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอาร์ปาเน็ตเดิมด้วยเทคนิคการโต้ตอบ หรือ " โปรโตคอล " (Potocol) แบบพิเศษที่เรียกว่า ทีซีพี / ไอพี” ( TCP/IP: Transmission Control Protocol / Internet Protocol) โดยที่ " ไอพี "( IP: Internet Protocol) หรืออินเตอร์เน็ตโปรโตคอลเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมโยเครือข่ายอาร์ปาเน็ตนับตั้งแต่ต้นได้มีเครือข่ายย่อยของสถาบัน และองค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาเองและประเทศต่างที่มีความสัมพันธ์ทางการฑูตกับสหรัฐอเมริกาได้ขอเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอาร์ปาเน็ตทำให้เครือข่ายอาร์ปาเน็ตมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น และเนื่องจากเชื่อมโยงเครือข่ายย่อยต่าง ๆ เหล่านี้เป็นการเชื่อต่อด้วยเทคนิคแบบ " อินเตอร์เน็ตโปรโตคอล " ดังนั้นต่อมาจึงเรียกเครือข่ายขนาดยักษ์นี้ว่า  "อินเตอร์เน็ต "
ความหมายของอินเตอร์เน็ต
            อินเตอร์เน็ต มาจากคำว่า International Network เป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกันคำว่า เครือข่าย หมายถึง
           
1. การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล ( ทางตรง )และหรือสายโทรศัพท์ ( ทางอ้อม )
            2. มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์
            3. มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน
อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
            ประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตในพ . ศ . 2535 โดยเริ่มที่สำนักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาใน พ . ศ . 2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ
2 วงจร หน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรกๆได้แก่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่นๆสำหรับภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งบริษัทสำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เอกชนและบุคคลทั่วไปที่นิยมเรียกกันว่า ISP (Internet Service Providers) หลายราย เช่น ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย (Internet Thailand) บริษัทเคเอสซีคอมเมอร์เชียลอินเตอร์เน็ตจำกัด (Internet KSC)บริษัทล็อกซเลย์อินฟอร์เมชันจำกัด (Loxinfo) เป็นต้น โดยในการพิจารณาเลือกใช้บริการจากISP เอกชนเหล่านี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ
            1. อัตราค่าใช้จ่ายโดยรวม ทั้งค่าสมัครเป็นสมาชิกและค่าใช้จ่ายเป็นรายครั้ง รายเดือน
หรือรายปี

            2. คำนวนคู่สายโทรศัพท์ ว่ามีให้ใช้ติดต่อมากเพียงพอหรือไม่
เพราะถ้ามีไม่มากก็จะเสียเวลารอคอยนานกว่าจะเชื่อมต่อได้
            3. ความเร็วของสายที่ใช้
            4. พื้นที่ในการให้บริการ ควรเลือกใช้ ISP ที่อยู่ในจังหวัด หรือพื้นที่ใกล้เคียงจะเหมาะสมกว่าเพราะ ISP ส่วนใหญ่มักให้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร
องค์ประกอบของการใช้อินเทอร์เน็ตรายบุคคล
                  1. โทรศัพท์
                  2. เครื่องคอมพิวเตอร์
                  3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
                  4. โมเด็ม (Modem
อินทราเน็ตคืออะไร
            อินทราเน็ต (intranet) หมายถึง เครือข่ายเฉพาะส่วนขององค์กรหน่วยงานที่นำซอฟท์แวร์หรือฮาร์ดแวร์แบบอินทราเน็ตมาประยุกต์ใช้ อินทราเน็ตจึงเป็นเครือข่ายเพื่อระบบงานภายในโดยมุ่งเน้นข้อมูลและสารสนเทศ เพื่อบริการแก่บุคลากร เครือข่ายอินทราเน็ตจะต่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตด้วยหรือไม่นั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญ เซิร์ฟเวอร์หลักภายในอินทราเน็ต คือ เว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งใช้เป็นศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร ระบบ WWW ให้บริการข้อมูลได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ผ่านโปรแกรม browser ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
การติดตั้งระบบอินทราเน็ต
            1.  เตรียมพร้อม TCP/IP องค์กรที่มีการวางระบบเครือข่ายภายใต้โปรโตคอล TCP/IP พร้อมอยู่แล้ว สามารถจะเข้าสู่อินทราเน็ตได้โดยง่าย แต่ถ้าใช้งานเน็ตแวร์ภายใต้โปรโตคอล IPX/SPX ก็จำเป็นต้องติดตั้ง GateWay  หรือ Router เพื่อเชื่อม Web Browser เข้ากับ Netware ที่มีอยู่
           2.  เลือก Hardware ที่ทำหน้าที่เป็น Web Server มีให้เลือกอย่างหลากหลาย Web Server สำหรับ Intranet จะมีสมรรถนะระดับใดขึ้นกับบริการที่มีให้และจำนวนผู้ใช้ในเครือข่าย เครื่องที่ให้เลือกจึงมีได้ตั้งแต่ PC ซึ่งเป็นCPU Pentium , Work Station (สถานีงาน) หรือ Server สมรรถนะสูง
           3. เลือก Software สำหรับหน่วยงานระดับเล็กที่มีงบประมาณจำกัด
           4.  เลือกซอร์ฟแวร์ประยุกต์ อินทราเน็ตภายใต้ Linux หรือUnio จะมีซอร์ฟแวร์ประยุกต์ในรูปของฟรีแวร์เป็นจำนวนมากทั้งเพื่อการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และการสร้างกลุ่มข่าว
          5. จัดเตรียมข้อมูล ขั้นตอนนี้เป็นการติตั้งเว็บ และนำเข้าพร้อมทั้งจัดเตรียมเครื่องมือในการพัฒนาระบบเว็บ ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งซอร์ฟแวร์และฟรีแวร์ให้เลือกมากมาย
            อินทราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ต ภายในองค์กร จะเป็นเครื่องมือบริหารงานสำคัญชิ้นใหม่ที่จะช่วยให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จุดเด่นหลักของอินทราเน็ตมีหลายประการ นับแต่ Server ไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องสมรรถนะสูงเมื่อเปรียบกับการใช้ Groupware และ Web Browser มีให้เลือกใช้อย่างหลากหลายตาม Hardware และระบบปฏิบัติการที่มีอยู่ และมีรูปแบบการใช้เหมือนกัน อีกทั้งสามารถขยายการเชื่อมต่อไปยังภายนอกได้ง่ายกว่า
ทำไมต้องอินทราเน็ต
               อินทราเน็ตจะช่วยปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเอกสารที่แต่เดิมใช้วิธิทำสำเนาแจกจ่ายไม่ว่าจะเป็นข่าวประกาศ รายงาน สมุดโทรศัพท์ภายใน หรือข้อมูลบุคลากรให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์แทน
การกระจายข้อมูลแบบ ดั้งเดิมซึ่งใช้การพิมพ์สำเนาแจกจ่ายเป็นวิธีที่ง่ายและยังพบเห็นอยู่ในหลายองค์กรแต่ไม่เหมาะกับข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ต้องสำเนาใหม่ จึงสิ้นเปลืองทั้งเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยจัดการปัญหาในรูปของระบบสำนักงานอัตโนมัติด้วยระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ลักษณะพื้นฐานของระบบที่ใช้อยู่โดยทั่วไปนั้น ผู้ที่ใช้เครื่องจะร้องขอข้อมูล ก่อนก้าวสู่อินทราเน็ต การปรับเปลี่ยนระบบไปสู่อินทราเน็ตไม่ใช่เรื่องที่ซับซ้อนตามที่หลายคนคิด กาดภายในองค์กรมีเครือข่ายอยู่ก่อนเท่ากับมีโครงสร้างพื้นฐานทางฮาร์ดแวร์เตรียมพร้อมแล้ว ซอร์ฟแวร์อินทราเน็ตมีให้เลือกหลากหลายสำหรับทุกระบบปฏิบัติการไม่ว่าจะเป็นวินโดวส์แมคอินทอช หรือยูนิกซ์ อินทราเน็ตช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมบุคลากร ตลอดจนด้านการพัฒนาโปรแกรมที่ต้องใช้โปรแกรมเมอร์พัฒนาโปรแกรมหลายรูปแบบก็จะเปลี่ยนแนวทางไป โปรแกรมเมอร์จะหันไปศึกษาหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับภาษา HTML , CGI หรือ JAVA
ความแตกต่างระหว่างอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต
            อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมากเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน ส่วน อินทราเน็ตคือระบบอินเทอร์เน็ตนั่นเองแต่เป็นอินเทอร์เน็ตที่ใช้งานเฉพาะภายในองค์กรเท่านั้นไม่ได้อนุญาตให้บุคคลภายนอกเรียกดูข้อมูลเหล่านี้ได้ เป็นการนำเอาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่สามารถเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ได้ทั่วโลกมาประยุกต์ใช้กับงานภายในองค์กรเพื่อให้คอมพิวเตอร์ในองค์กรสามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนและส่งผ่านข้อมูลถึงกันได้

ที่มา : http://202.129.53.76/watcharee/n6.html
          www2.cs.science.cmu.ac.th/ person/panipa/comp100/psch5-net.ppt      
          http://dusithost.dusit.ac.th/librarian/it107/C6.htm   
          http://www.geocities.com/naikumpol/homework_1.htm


แนวข้อสอบรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ง 30241

แนวข้อสอบรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ง 30241
ข้อสอบ 60 ข้อ  20 คะแนนนักเรียนต้องนำ รหัสเข้าใช้อินเทอร์เน็ต+รหัสนักเรียน
มาด้วยนะค่ะ
- งานในสมุด (ออกทุกใบงาน)
- รายงานกลุ่มทั้ง 10 กลุ่ม
           - ความเป็นมาของเทคโนโลยีสารสนเทศ
          - องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
          - เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
          - ฮาร์ดแวร์
          - ซอฟต์แวร์
          - ระบบปฏิบัติการ
          - เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (โทโปโลยีแบบต่างๆ)
          - อินเทอร์เน็ต
          - การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต (Search Engines)
- โปรแกรม Microsoft word 2007
- โปรแกรม Microsoft Power point 2007
- โปรแกรม Microsoft Excel 2007 (sheet) 2 ข้อ