วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

“ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต”

 ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต
ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
          อินเตอร์เน็ต ( Internet ) เป็นเครือข่ายที่ได้รับการพัฒนา และเติบโตมาจากเครือข่ายทางการทหารของประเทสสหรัฐอเมริกา ที่มีชื่อว่า เครือข่าย " อาร์ปาเน็ต " ( ARPANET: Advanced Research Project Network)   เครือข่ายอาร์ปาเน็ตเป็นโครงการร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มใช้งานเมื่อปี พ . ศ . 2512 ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีเครือข่ายอาร์ปาเน็ตเป็นเครือข่ายหลักสำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในเวลาต่อมามหาวิทยาลัยต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสนใจและขอเข้าร่วมโครงการโดยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายอาร์ปาเน็ตเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและวิจัยต่อมาเครือข่ายอาร์ปาเน็ตมีขนาดใหญ่มากขึ้นทำให้เกิดปัญหาในการบริหารเครือข่ายดังนั้นทางการทหารของสหรัฐอเมริกาจึงขอแยกตัวออกมาเป็นเครือข่ายย่อยชื่อว่า " มิลเน็ต " ( MILNET: Military Network) โดยเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอาร์ปาเน็ตเดิมด้วยเทคนิคการโต้ตอบ หรือ " โปรโตคอล " (Potocol) แบบพิเศษที่เรียกว่า ทีซีพี / ไอพี” ( TCP/IP: Transmission Control Protocol / Internet Protocol) โดยที่ " ไอพี "( IP: Internet Protocol) หรืออินเตอร์เน็ตโปรโตคอลเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมโยเครือข่ายอาร์ปาเน็ตนับตั้งแต่ต้นได้มีเครือข่ายย่อยของสถาบัน และองค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาเองและประเทศต่างที่มีความสัมพันธ์ทางการฑูตกับสหรัฐอเมริกาได้ขอเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอาร์ปาเน็ตทำให้เครือข่ายอาร์ปาเน็ตมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น และเนื่องจากเชื่อมโยงเครือข่ายย่อยต่าง ๆ เหล่านี้เป็นการเชื่อต่อด้วยเทคนิคแบบ " อินเตอร์เน็ตโปรโตคอล " ดังนั้นต่อมาจึงเรียกเครือข่ายขนาดยักษ์นี้ว่า  "อินเตอร์เน็ต "
ความหมายของอินเตอร์เน็ต
            อินเตอร์เน็ต มาจากคำว่า International Network เป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกันคำว่า เครือข่าย หมายถึง
           
1. การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล ( ทางตรง )และหรือสายโทรศัพท์ ( ทางอ้อม )
            2. มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์
            3. มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน
อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
            ประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตในพ . ศ . 2535 โดยเริ่มที่สำนักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาใน พ . ศ . 2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ
2 วงจร หน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรกๆได้แก่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่นๆสำหรับภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งบริษัทสำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เอกชนและบุคคลทั่วไปที่นิยมเรียกกันว่า ISP (Internet Service Providers) หลายราย เช่น ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย (Internet Thailand) บริษัทเคเอสซีคอมเมอร์เชียลอินเตอร์เน็ตจำกัด (Internet KSC)บริษัทล็อกซเลย์อินฟอร์เมชันจำกัด (Loxinfo) เป็นต้น โดยในการพิจารณาเลือกใช้บริการจากISP เอกชนเหล่านี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ
            1. อัตราค่าใช้จ่ายโดยรวม ทั้งค่าสมัครเป็นสมาชิกและค่าใช้จ่ายเป็นรายครั้ง รายเดือน
หรือรายปี

            2. คำนวนคู่สายโทรศัพท์ ว่ามีให้ใช้ติดต่อมากเพียงพอหรือไม่
เพราะถ้ามีไม่มากก็จะเสียเวลารอคอยนานกว่าจะเชื่อมต่อได้
            3. ความเร็วของสายที่ใช้
            4. พื้นที่ในการให้บริการ ควรเลือกใช้ ISP ที่อยู่ในจังหวัด หรือพื้นที่ใกล้เคียงจะเหมาะสมกว่าเพราะ ISP ส่วนใหญ่มักให้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร
องค์ประกอบของการใช้อินเทอร์เน็ตรายบุคคล
                  1. โทรศัพท์
                  2. เครื่องคอมพิวเตอร์
                  3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
                  4. โมเด็ม (Modem
อินทราเน็ตคืออะไร
            อินทราเน็ต (intranet) หมายถึง เครือข่ายเฉพาะส่วนขององค์กรหน่วยงานที่นำซอฟท์แวร์หรือฮาร์ดแวร์แบบอินทราเน็ตมาประยุกต์ใช้ อินทราเน็ตจึงเป็นเครือข่ายเพื่อระบบงานภายในโดยมุ่งเน้นข้อมูลและสารสนเทศ เพื่อบริการแก่บุคลากร เครือข่ายอินทราเน็ตจะต่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตด้วยหรือไม่นั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญ เซิร์ฟเวอร์หลักภายในอินทราเน็ต คือ เว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งใช้เป็นศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร ระบบ WWW ให้บริการข้อมูลได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ผ่านโปรแกรม browser ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
การติดตั้งระบบอินทราเน็ต
            1.  เตรียมพร้อม TCP/IP องค์กรที่มีการวางระบบเครือข่ายภายใต้โปรโตคอล TCP/IP พร้อมอยู่แล้ว สามารถจะเข้าสู่อินทราเน็ตได้โดยง่าย แต่ถ้าใช้งานเน็ตแวร์ภายใต้โปรโตคอล IPX/SPX ก็จำเป็นต้องติดตั้ง GateWay  หรือ Router เพื่อเชื่อม Web Browser เข้ากับ Netware ที่มีอยู่
           2.  เลือก Hardware ที่ทำหน้าที่เป็น Web Server มีให้เลือกอย่างหลากหลาย Web Server สำหรับ Intranet จะมีสมรรถนะระดับใดขึ้นกับบริการที่มีให้และจำนวนผู้ใช้ในเครือข่าย เครื่องที่ให้เลือกจึงมีได้ตั้งแต่ PC ซึ่งเป็นCPU Pentium , Work Station (สถานีงาน) หรือ Server สมรรถนะสูง
           3. เลือก Software สำหรับหน่วยงานระดับเล็กที่มีงบประมาณจำกัด
           4.  เลือกซอร์ฟแวร์ประยุกต์ อินทราเน็ตภายใต้ Linux หรือUnio จะมีซอร์ฟแวร์ประยุกต์ในรูปของฟรีแวร์เป็นจำนวนมากทั้งเพื่อการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และการสร้างกลุ่มข่าว
          5. จัดเตรียมข้อมูล ขั้นตอนนี้เป็นการติตั้งเว็บ และนำเข้าพร้อมทั้งจัดเตรียมเครื่องมือในการพัฒนาระบบเว็บ ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งซอร์ฟแวร์และฟรีแวร์ให้เลือกมากมาย
            อินทราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ต ภายในองค์กร จะเป็นเครื่องมือบริหารงานสำคัญชิ้นใหม่ที่จะช่วยให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จุดเด่นหลักของอินทราเน็ตมีหลายประการ นับแต่ Server ไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องสมรรถนะสูงเมื่อเปรียบกับการใช้ Groupware และ Web Browser มีให้เลือกใช้อย่างหลากหลายตาม Hardware และระบบปฏิบัติการที่มีอยู่ และมีรูปแบบการใช้เหมือนกัน อีกทั้งสามารถขยายการเชื่อมต่อไปยังภายนอกได้ง่ายกว่า
ทำไมต้องอินทราเน็ต
               อินทราเน็ตจะช่วยปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเอกสารที่แต่เดิมใช้วิธิทำสำเนาแจกจ่ายไม่ว่าจะเป็นข่าวประกาศ รายงาน สมุดโทรศัพท์ภายใน หรือข้อมูลบุคลากรให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์แทน
การกระจายข้อมูลแบบ ดั้งเดิมซึ่งใช้การพิมพ์สำเนาแจกจ่ายเป็นวิธีที่ง่ายและยังพบเห็นอยู่ในหลายองค์กรแต่ไม่เหมาะกับข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ต้องสำเนาใหม่ จึงสิ้นเปลืองทั้งเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยจัดการปัญหาในรูปของระบบสำนักงานอัตโนมัติด้วยระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ลักษณะพื้นฐานของระบบที่ใช้อยู่โดยทั่วไปนั้น ผู้ที่ใช้เครื่องจะร้องขอข้อมูล ก่อนก้าวสู่อินทราเน็ต การปรับเปลี่ยนระบบไปสู่อินทราเน็ตไม่ใช่เรื่องที่ซับซ้อนตามที่หลายคนคิด กาดภายในองค์กรมีเครือข่ายอยู่ก่อนเท่ากับมีโครงสร้างพื้นฐานทางฮาร์ดแวร์เตรียมพร้อมแล้ว ซอร์ฟแวร์อินทราเน็ตมีให้เลือกหลากหลายสำหรับทุกระบบปฏิบัติการไม่ว่าจะเป็นวินโดวส์แมคอินทอช หรือยูนิกซ์ อินทราเน็ตช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมบุคลากร ตลอดจนด้านการพัฒนาโปรแกรมที่ต้องใช้โปรแกรมเมอร์พัฒนาโปรแกรมหลายรูปแบบก็จะเปลี่ยนแนวทางไป โปรแกรมเมอร์จะหันไปศึกษาหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับภาษา HTML , CGI หรือ JAVA
ความแตกต่างระหว่างอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต
            อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมากเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน ส่วน อินทราเน็ตคือระบบอินเทอร์เน็ตนั่นเองแต่เป็นอินเทอร์เน็ตที่ใช้งานเฉพาะภายในองค์กรเท่านั้นไม่ได้อนุญาตให้บุคคลภายนอกเรียกดูข้อมูลเหล่านี้ได้ เป็นการนำเอาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่สามารถเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ได้ทั่วโลกมาประยุกต์ใช้กับงานภายในองค์กรเพื่อให้คอมพิวเตอร์ในองค์กรสามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนและส่งผ่านข้อมูลถึงกันได้

ที่มา : http://202.129.53.76/watcharee/n6.html
          www2.cs.science.cmu.ac.th/ person/panipa/comp100/psch5-net.ppt      
          http://dusithost.dusit.ac.th/librarian/it107/C6.htm   
          http://www.geocities.com/naikumpol/homework_1.htm


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น