วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบคอมพิวเตอร์

ระบบคอมพิวเตอร์
ฮาร์ดแวร์
หมายถึง อุปกรณ์ทุกชนิดที่นำมาประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล  และแสดงผลข้อมูล เช่น  แผงวงจรไฟฟ้า  จอภาพ  แป้นพิมพ์  ฮาร์ดแวร์   แรม  เป็นต้น 

หน่วยรับข้อมูล หรือ หน่วยนำเข้าข้อมูล 
เป็นหน่วยเริ่มต้นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ เพราะ มีหน้าที่ในการนำข้อมูลหรือคำสั่งต่าง ๆ  เข้าไปในระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์รับข้อมูลของหน่วยรับข้อมูล  มีหลายชนิด  เช่น    แป้นพิมพ์  เมาส์  เครื่องสแกน  จอยสติก จอสัมผัส  แต่ทุกชนิดทำหน้าที่ รับข้อมูลหรือคำสั่ง เข้าสู่ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เหมือนกัน
อุปกรณ์ของหน่วยรับข้อมูล แต่ละชนิดมีวิธีการนำเข้าข้อมูล หรือรับคำสั่ง ตลอดจนลักษณะของรูปแบบข้อมูลที่นำเข้าต่างกัน
หน้าที่สำคัญ  คือเป็นอุปกรณ์ ที่รับข้อมูล หรือคำสั่ง เข้าสู่ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์  หน่วยรับข้อมูล จึงเป็นหน่วยทำงานที่ช่วยให้ มนุษย์ สามารถติดต่อ สั่งงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ได้

หน่วยประมวลผล  หน่วยประมวลผล 
นิยมเรียกว่า ซีพียู  ซึ่งย่อมาจาก Central Processing Unit : CPU บางครั้งเรียกว่า โปรเซสเชอร์
มีหน่วยการทำงานที่สำคัญ 2  ส่วน  คือ  
หน่วยคำนวณและตรรกะ ทำหน้าที่  ใน การคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์  และเปรียบเทียบทางตรรกะของข้อมูล
          หน่วยควบคุม   ทำหน้าที่ประสานงาน และ ควบคุม  การทำงานของคอมพิวเตอร์  โดยจะทำงานประสานกับหน่วยความจำหลัก  และหน่วยคำนวณและตรรกะ

หน่วยเก็บข้อมูล
หน่วยเก็บข้อมูล  เป็นส่วนที่ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ  ที่ผ่านการประมวลผลแล้ว  สามารถแบ่งออกเป็น  2  ประเภทคือ
1.  หน่วยความจำหลัก  มีหน้าที่ เก็บข้อมูลต่าง ๆ  ตลอดจนโปรแกรมต่าง  ๆ  ขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานอยู่ เท่านั้น ถ้าปิดเครื่องคอมพิวเตอร์  ข้อมูลหรือซอฟแวร์ที่เก็บไว้ ในหน่วยความจำหลักจะหายหมด   ต้องอาศัย กระแสไฟฟ้าในการทำงาน  ถ้ากระแสไฟฟ้าไม่มีหรือมีไม่เพียงพอ ก็จะไม่สามารถทำงานได้ ข้อมูลหรือซอฟต์แวร์ที่เก็บไว้ก็จะหายทั้งหมด ได้แก่
-  แรม (Random Access Memory : RAM) หน่วยความจำแบบนี้จะเก็บข้อมูล เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงในวงจรถ้าไม่มีกระแสไฟฟ้าข้อมูลจะหายไป ถ้าคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำมากจะสามารถทำงานได้เร็วขึ้น เพราะมีเนื้อที่สำหรับเก็บคำสั่งของโปรแกรมต่าง ๆ  ไม่ต้องเรียกคำสั่งที่ใช้มาจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ซึ่งจะทำให้การทำงานช้าลงอย่างมาก
-  รอม (Read Only Memory : ROM)  หน่วยความจำแบบนี้จะมีคุณสมบัติการเก็บข้อมูลไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง ข้อมูลจะยังคงอยู่ในรอมตลอดเวลา เป็นหน่วยความจำสำหรับเก็บชุดคำสั่งเริ่มต้นระบบ หรือชุดคำสั่งที่สำคัญ ๆ ของคอมพิวเตอร์ ข้อเสียของรอมคือจะไม่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมชุดคำสั่งได้ในภายหลัง รวมทั้งมีความเร็วในการทำงานช้ากว่าหน่วยความจำแบบแรม
2.  หน่วยความจำรอง มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรม  เหมือนกับ หน่วยความจำหลัก แต่ต่างจากหน่วยความจำหลัก คือ    หน่วยความจำรอง สามารถจัดเก็บข้อมูล และโปรแกรมไว้ใช้ในภายหลังได้  แม้จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์  ข้อมูลและโปรแกรมที่เก็บไว้  ไม่สูญหายหรือถูกลบทิ้ง
- หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง  ได้แก่  ฮาร์ดิสก์  (Hard  Disk)  ฟลอปปีดิสก์ (Floppy  Disk)  คอมแพ็กดิสก์  (Compact  Disk หรือ  CD )  หน่วยความจำแบบแฟรช เป็นต้น

หน่วยแสดงผล ( Output Unit )
หน่วยแสดงผล ( Output Unit ) หมายถึง หน่วยที่ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณหรือการประมวลผลมาแสดงให้ผู้ใช้ทราบหรือนำไปใช้งาน  หน่วยแสดงผลที่สำคัญ ได้แก่ จอภาพ (Monitor)   เครื่องพิมพ์ (Printer)  ลำโพง ( Speaker )

ซอฟต์แวร์ (software)
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์ ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ สามารถแบ่งได้ 2 ชนิดดังนี้
1. ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ

ที่มา : หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ 4-6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น